วิสัยทัศน์/ค่านิยม/พันธกิจ


เครื่องหมายราชการของกรมชลประทาน

วิสัยทัศน์

"กรมชลประทานเป็นองค์กรอัจฉริยะ ที่มุ่งสร้างความมั่นคงด้านน้ำ (Water Security) เพื่อเพิ่มคุณค่าการบริการ ภายในปี 2580"

พันธกิจ

พัฒนาแหล่งน้ำและเพิ่มพื้นที่ชลประทานตามศักยภาพของลุ่มน้ำให้เกิดความสมดุล
บริหารจัดการน้ำอย่างบูรณาการให้เพียงพอ ทั่วถึง และเป็นธรรม
ดำเนินการป้องกันและบรรเทาภัยอันเกิดจากน้ำตามภารกิจอย่างเหมาะสม
เสริมสร้างการมีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนาแหล่งน้ำ และการบริหารจัดการน้ำ

ประเด็นยุทธศาสตร์

1. การพัฒนาแหล่งน้ำและเพิ่มพื้นที่ชลประทานตามศักยภาพลักษณะลุ่มน้ำ (Basin-based Approach)
2. การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ำอย่างบูรณาการ ตามวัตถุประสงค์การใช้น้ำ
3. การป้องกันความเสียหายและสนับสนุนการบรรเทาภัยอันเกิดจากน้ำ
4. การสร้างเครือข่าย และการมีส่วนร่วม (Networking and Participation) ของทุกภาคส่วนในการบริหารจัดการน้ำชลประทานในระดับพื้นที่ (Networking Collaboration Paticipation)
5. การปรับเปลี่ยนสู่องค์กรอัจฉริยะ (Turnaround to Intelligent Organization)

ค่านิยม

Water for all

Work Smart                                 เก่งงาน เก่งคิด
Accountability                            รับผิดชอบงาน
Teamwork & Networking         ร่วมมือ ร่วมประสาน
Expertise                                      เชี่ยวชาญงานที่ทำ
Responsiveness                          นำประโยชน์สู่ประชาชน

Work Smart        : เก่งงาน เก่งคิด

      หมายถึง ใช้ความรอบรู้ทางวิชาการ และเทคโนโลยีในการปฏิบัติงาน ปรับปรุงกระบวนงานอย่างสม่ำเสมอ สร้างสรรค์นวัตกรรม เพื่อตอบสนองการเปลี่ยนแปลงอย่างทันการณ์

Accountability     : รับผิดชอบงาน

      หมายถึง รับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย พร้อมรับการตรวจสอบ และรับฟังข้อสเนอแนะจากผู้เกี่ยวข้อง

Teamwork & Networking   :ร่วมมือ ร่วมประสาน

      หมายถึง สามารถทำงานร่วบกับผู้อื่น สร้างเครือข่ายในการทำงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มต่างๆ เพื่อประโยชน์ในงาน

Expertise       :เชี่ยวชาญงานที่ทำ

      หมายถึง ศึกษาหาความรู้และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง เพื่อเสริมความชำนาญในงานที่รับผิดชอบ จนสามารถประยุกต์ใช้ความรู้เชิงวิชาการ และเทคโนโลยีต่างๆ

Responsiveness     : นำประโยชน์สู่ประชาชน

      หมายถึง เต็มใจช่วยเหลือ เอื้อเฟื้อ แก้ปัญหา พร้อมให้บริการประชาชนด้วยความรวดเร็วและเป็นธรรม

แผนที่ยุทธศาสตร์

แผนที่ยุทธศาสตร์ แบ่งออกเป็น 4 มิติ 10 เป้าประสงค์ ดังนี้
  1. มิติประสิทธิผลตามพันธกิจ                           มี 5 เป้าประสงค์
  2. มิติคุณภาพการให้บริการ                              มี 2 เป้าประสงค์
  3. มิติประสิทธิภาพของการปฏิบัติราชการ          มี 3 เป้าประสงค์
  4. มิติการพัฒนาองค์กร                                   มี 1 เป้าประสงค์